สำหรับการกู้เงินจาก KTB บริษัทก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินกู้ดังกล่าวทั้งในฐานะผู้กู้และหรือผู้ค้ำประกันใดๆ ดังนั้นเมื่อทางบริษัทถูกกล่าวหาในคดีข้างต้น ทางบริษัทก็จะดำเนินการต่อสู้ในชั้นศาลตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป โดยเชื่อมั่นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท เนื่องจากหากมีความเกี่ยวข้องกับคดีอาญาก็จะเป็นการเกี่ยวพันเฉพาะตัวบุคคลที่กระทำผิด สำหรับความรับผิดในทางแพ่ง เนื่องจากบริษัทไม่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้และหรือสัญญาค้ำประกันใดๆ บริษัทจึงไม่ต้องรับผิดในทางแพ่งเช่นกัน
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555
KMC ยันไม่เกี่ยวข้องคดี KTB ปล่อยกู้อดีตบอร์ด-ย้ำไม่กระทบธุรกิจ
นายวิรัตน์ เอี้ยวอักษร กรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.กฤษดามหานคร(KMC) แจ้งว่า ตามที่ทางบริษัทได้รับคำฟ้องจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คณะกรรมการบริหารและพนักงาน ธนาคารกรุงไทย(KTB)และพวก ร่วมกันกระทำความผิดหรือสนับสนุนการกระทำผิดฐานเป็นพนักงานหรือเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยประกอบด้วยบุคคลและนิติบุคคลหลายราย รวมทั้ง บริษัท โดยศาลได้นัดพิจารณานัดครั้งแรกในวันที่ 11 ตุลาคม 2555 นั้นบริษัทฯมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่คณะกรรมการบริหารและพนักงาน KTB อนุมัติให้สินเชื่อหรือกรณี KTB ขายหุ้นบุริมสิทธิแต่อย่างใด กรณีมีชื่อผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เช่น นายรัชฎา กฤษดาธานนท์ หรือ นายวิชัย กฤษดาธานนท์ แม้จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง โดยนายรัชฎา กฤษดาธานนท์ เคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท และนายวิชัย กฤษดาธานนท์ ซึ่งก็เป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งของบริษัท แต่ก็เป็นการกระทำในฐานะส่วนตัวทั้งสิ้นมิได้กระทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของบริษัทฯแต่อย่างใด
ธปท.เพิ่มทุนแบงก์กรุงไทย ยันมีเงินเหลือพอจ่ายดอกเบี้ย
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555 06:00:00 น.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทย (เอฟไอดีเอฟ)?มีมติให้ กองทุนฯ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามสิทธิทั้งหมดที่ได้รับ โดยกองทุนฯ ยืนยันว่ามีสภาพคล่องเพียงพอในการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้สำหรับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารกรุงไทยในครั้งนี้ กองทุนฯ ยืนยันว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ปัจจุบันมียอดคงค้างประมาณ 1.14 ล้านล้านบาทอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยยืนยันว่ากองทุนฯ มีเงินเพียงพอในการชำระ ส่วนเงินต้นนั้นยอมรับว่าการชำระอาจล่าช้าไปจากกำหนดเดิมบ้าง อย่างไรก็ตามเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เตรียมรับมือไว้อยู่แล้ว
"เรื่องชำระดอกเบี้ยไม่มีปัญหา แต่เงินต้นนั้นมีจำนวนมาก แรกๆ อาจลดได้เล็กน้อย ส่วนดอกเบี้ยเก่าที่แพง ล่าสุดเห็นทาง สบน.(สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ) บอกว่า ได้รีไฟแนนซ์ลงเหลือ 3% จากเดิมดอกเบี้ยอยู่ที่ 6%"
ดร.ประสาร ยังได้กล่าวถึงกรณีที่ ธปท.ได้รับหนังสือชี้แจงจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า ไอเอ็มเอฟ ได้ชี้แจงถึงกรณีที่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการ ธปท. นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า Inflation targeting ในเวลานี้ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะเงินเฟ้อตอนนี้มันเชื่อมโยงกันทั่วโลก(Globalize Inflation) ว่า ไม่เป็นความจริง นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า การใช้นโยบายการเงิน โดยกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธปท.ใช้ในขณะนี้ถือว่าได้ผลดี
“ธปท.ควรระมัดระวังเรื่องภาพพจน์ความน่าเชื่อถือ ก่อนหน้านี้ธปท.ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก แต่ในเวลานี้ดูเหมือนว่าข่าวต่างๆที่ออกมา อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของธปท.”
ธ.กรุงไทยร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เนื่องในโอกาส 10 ปีวันสตรีไทย
กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุลประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายจรัมพร โชติกเสถียรกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นางสาวฐิตินันท์วัธนเวคิน ประธานคณะกรรมการประสานงานภาคเศรษฐกิจและสถาบันการเงินสภาสตรีแห่งชาติ นางกิตติยา โตธนะเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสธนาคารกรุงไทย พร้อมผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรต่างๆ
ร่วมแถลงข่าวผนึกกำลังของภาคเศรษฐกิจและสถาบันการเงินในการรวมพลังจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีวันสตรีไทย ณ โถงนิทรรศการ ชั้น 1ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2555
วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กทม.จ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วมครบแล้ว100เปอร์เซ็นต์
นายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกกทม. เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารกทม. ถึงความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใน พื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ในส่วนของงานขุดลอกคลองจำนวน 29 คลอง 151 กิโลเมตร ซึ่งดำเนินการเสร็จแล้ว 119 กิโลเมตร คิดเป็น 79 เปอร์เซ็นต์ อยู่ระหว่างดำเนินการ 32 กิโลเมตร งานล้างท่อระบายน้ำโดยกรมราชทัณฑ์ 3,624 กิโลเมตร ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ดำเนินการโดยสำนักการระบายน้ำ (สนน.) 362 เส้นทาง ความยาว 10,22 กิโลเมตร เสร็จแล้ว 339 เส้นทาง ความยาว 924 กิโลเมตร คิดเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ และสนน.ดำเนินการรวมกับสำนักงานเขต ความยาวรวม 4,418.34 กิโลเมตร เสร็จแล้ว 3,189 กิโลเมตร คิดเป็น 72 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล สามารถรับน้ำได้อีก 7,373 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนสิริกิติ์ สามารถรับน้ำได้อีก 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ปริมาณฝนเฉลี่ยต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง 5 รายการนั้น ขณะนี้ กทม.ได้ จ่ายเงินให้กับผู้ประสบอุทกภัยครบแล้วทั้งหมด โดยแบ่งเป็นโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทยแล้ว 83,672 ราย เป็นเงินกว่า 777 ล้านบาท และจ่ายผ่านแคชเชียร์เช็ค 39,236 ราย เป็นเงินกว่า 394 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 122,908 ราย เป็นเงิน 1,171 ล้านบาท ทั้งนี้ กทม.ได้ รับหนังสือตอบรับจากกระทรวงมหาดไทย (มท.) ให้เปิดรับคำร้องเพิ่มเติม ซึ่งในที่ประชุมมีมติให้ขยายเวลารับลงทะเบียนผู้ประสบอุทกภัยเพิ่มเติม สำหรับประชาชนที่ไม่เคยมายื่นคำร้องด้วย ส่วนที่ กทม.ขอ ให้รัฐบาลพิจารณาอนุมัติเงินเยียวยาเพิ่มเติมในส่วนค่าเครื่องนุ่งห่มอีก 1 รายการนั้น รัฐบาลยังไม่ได้ตอบรับแต่อย่างใด รวมถึงการเยียวยาในจำนวนเงิน 20,000 บาทเท่ากันทุกราย โดยล่าสุด นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันแล้วการจ่ายเงินเยียวยาจะต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ไม่สามารถให้ 20,000 บาทเท่ากันทุกรายได้ ซึ่งตนก็อยากให้นักการเมืองทุกคนไปทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากที่ผ่านมามีการไปสื่อสารกับประชาชนว่าจะได้ 20,000 บาททุกราย ทำให้สำนักงานเขตต่างๆ ไม่สบายใจ
“กทม.ไม่เคยรับปากว่าจะให้ 20,000 บาทเท่ากันทุกราย คนที่พูดไม่ใช่คนของกทม. ส่วนกรณีที่มีประชาชนร้องเรียนถึงการได้รับเงินเยียวยาอย่างไม่เป็นธรรม เกิดจากเจ้าหน้าที่เขตบกพร่องในการตรวจสอบข้อมูล ขอร้องว่าอย่าเพิ่งตัดสินเช่นนั้น เราต้องให้ความเชื่อมั่นในข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่าเขาทำงานด้วยความสุจริต ยกเว้นจะมีกาตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งอาจมีรายละเอียดหลายอย่างที่แต่ละบ้านได้รับเงินไม่เท่ากัน หากเห็นว่าเงินที่ได้รับไม่เป็นธรรม ก็ขอให้ยื่นอุทธรณ์มาที่เขตฯ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเรียกมาสอบปากคำเพื่อรับรองข้อมูลก่อนจะพิจารณาว่าจะ จ่ายเงินเพิ่มเติมให้หรือไม่” นายวสันต์ กล่าว
Tags : กทม. • เยียวยาน้ำท่วม
วันที่ 23 กรกฎาคม 2555 16:14 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
หนี้ยุโรปพ่นพิษ! รายใหญ่ชะลอซื้อกิจการ โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ความต้องการสินเชื่อรายใหญ่ในครึ่งหลังของปีมีไม่มากนัก เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลสถานการณ์ในยุโรป ซึ่งวิกฤติหนี้ในยุโรปที่ยังไม่มีทางออกที่ชัดเจนทำให้โอกาสในการไปซื้อ กิจการในต่างประเทศแม้จะยังมีอยู่ แต่ก็อาจจะชะลอลง เพราะผู้ประกอบการต้องพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้นและติดตามสถานการณ์อย่าง ใกล้ชิด
ทั้งนี้ ในช่วงที่เหลือของปีธนาคารคาดว่าจะมีความต้องการของลูกค้ารายใหญ่ในการซื้อ หรือควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions) อีกประมาณ 2-3 ราย ที่เป็นการออกไปลงทุนในภูมิภาค
"ผู้ประกอบการไทยเก่ง การตัดสินใจลงทุนจะดูอย่างรอบคอบ เพราะเราเจอปัญหามาหลายรอบแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ต้องมีปัญหาทุกปี อย่างปีก่อนก็มีน้ำท่วม"
ทางด้าน นางสาววรดา ตั้งสืบกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในขณะนี้ธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งต่างรอดูสถานการณ์วิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่ม ประเทศยุโรปทำให้ความต้องการออกไปซื้อกิจการชะลอตัวลง แต่เชื่อว่าในปีหน้าจะเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวดีขึ้นและมีความต้องการซื้อ กิจการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์จะเข้าสู่ช่วงต่ำสุดแล้ว นอกจากนี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำยังเป็นปัจจัยหนุนการลงทุน อีกด้วย เพราะจะมีต้นทุนการซื้อกิจการที่ลดลงเป็นโอกาสของธุรกิจไทย ไปลงทุนในธุรกิจพลังงาน อาหารและเกษตรแปรรูป ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ด้าน นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ในช่วงที่เหลือของปีธนาคารมีลูกค้าที่ต้องการซื้อหรือควบรวมกิจการอีกประมาณ 7 ราย คิดเป็นมูลค่ารวม 2-3 หมื่นล้านบาท โดยมาจากธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการ ส่วนใหญ่เป็นการออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งนอกจากการควบรวมกิจการแล้ว ธนาคารยังเข้าไปเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการออก กองทุนอสังหาริมทรัพย์อีกประมาณ 1-2 กอง
ในขณะนี้เริ่มมีแนวโน้มว่าธุรกิจขนาดกลางจะมีความต้องการออกไปลงทุนและ ซื้อกิจการในต่างประเทศมากขึ้น จากเดิมที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่เท่านั้น
ในส่วนของธนาคารหลังจากที่กลุ่มซีไอเอ็มบีได้เข้าไปซื้อกิจการ Royal Bank of Scotland (RBS) ทำให้ธนาคารมีศักยภาพในการให้บริการธุรกิจวาณิชธนกิจเพิ่มมากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ทางด้านวาณิชธนกิจเข้ามาเสริมทีมงานอีกประมาณ 40 คน มีความพร้อมในการให้บริการซื้อกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี
จับหนุ่มปากีสถานร่วมกับพวกติดกล้องจิ๋ว-เครื่องสกิมเมอร์ในตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย หน้าศูนย์รถยนต์ฮอนด้าคาร์ สาขาบางเขน ก่อนทำการคัดลอกบัตรเครดิตเหยื่อตระเวนกดเงิน สอบพบประวัติเคยติดคุกคดีดังกล่าวที่ประเทศอังกฤษ และสเปนมาแล้ว
วันนี้ (4 ส.ค.) ที่ สน.บางเขน เมื่อเวลา 14.30 น. พ.ต.อ.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รอง ผบก.น.2 พ.ต.อ.ชยุต มารยาทตร์ ผกก.สน.บางเขน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สน.บางเขน ร่วมแถลงการจับกุมผู้ต้องหากระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามหมายศาลอาญา เลขที่ 110/2555 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2555 คือ นายโมฮัมหมัด อาดีป หรือฮาซิม อายุ 45 ปี สัญชาติปากีสถาน พร้อมของกลาง ครื่องคัดลอกข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (SKIMMER) จำนวน 1 เครื่อง กล้องวงจรปิดขนาดเล็กพร้อมอุปกรณ์จำนวน 1 ชุด บัตรเครดิตปลอมของธนาคารต่างๆ และบัตรที่ใช้ในกระทำความผิด จำนวนรวม 34 ใบ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ (USB) จำนวน 4 อัน เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 2 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ 5 เครื่อง และรถยนต์ 1 คัน โดยสามารถจับกุมได้ที่หน้าห้องพักเลขที่ 1913 อาคารนาซ่าเวกัส แขวงและเขตสวนหลวง กทม. ทั้งนี้ ได้มีผู้แทนชมรมธุรกิจบริการเอทีเอ็ม สมาคมธนาคารไทยมายืนยันตัวคนร้าย
พ.ต.อ.เจริญเปิดเผยว่า ก่อนเกิดเหตุ นายไพโรจน์ ดีรักษา ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เดินทางมาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.บางเขน ว่ามีคนนำเครื่อง SKIMMER และกล้องวงจรปิดขนาดเล็ก มาติดตั้งไว้ที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย หน้าศูนย์รถยนต์ฮอนด้าคาร์ สาขาบางเขน ซ.พหลโยธิน 67 ถ.พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา จึงคาดว่าน่าจะมีคนร้ายทำการลักลอบคัดลอกข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้มา ใช้บริการตู้เอทีเอ็มดังกล่าว แล้วปลอมแปลงบัตรเอทีเอ็มใบใหม่ขึ้นมาโดยคัดลอกรหัสบัตรจากผู้มาใช้บริการ ตู้แห่งนี้เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ
ต่อมาจากการสืบสวนทราบว่าภาพผู้ต้องหาได้ปรากฏอยู่ในข้อมูล ซึ่งได้ไปกดเงินตามตู้เอทีเอ็มต่างๆ จึงนำเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจับกุมได้ที่บริเวณห้องดังกล่าวพร้อมของกลางทั้งหมด ทั้งนี้ จากการสอบสวนทราบว่ามีผู้ร่วมขบวนการอีกหลายคน ได้แก่ นายราชพุท โมฮัมหมัด ซาลีม สัญชาติปากีสถาน นายโฮโดโรเจีย ไมไฮล์ และนาย ไอคอป ราดู ดาเนียล สัญชาติโรมาเนียทั้งคู่
จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การว่า ตนมีอาชีพซื้อของภายในประเทศไทยแล้วส่งขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งอยู่เมืองไทยได้ประมาณ 1 เดือนกว่าแล้ว และต่อมาได้ถูกชักชวนให้ร่วมขบวนการจากนายโฮโดโรเจีย ไมไฮล์ และนายไอคอป ราดู ดาเนียล ซึ่งขณะนี้ทราบว่าได้หนีออกนอกประเทศไปแล้ว โดยตนจะมีหน้าที่ตรวจสอบบัตรและกดเงินตามตู้เอทีเอ็ม และจะได้ยอดประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของยอดที่กดได้ทั้งหมด แต่ยังทำงานยังไม่สำเร็จ ก็มาถูกจับกุมตัวได้เสียก่อน
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหา “ทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้หรือให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” พร้อมนำตัวส่งดำเนินเคดีตามกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่จะขยายผลหาผู้ร่วมขบวนการและตรวจสอบบัตรเอทีเอ็ม เพราะน่าจะมีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อในลักษณะนี้มาแล้วหลายครั้ง หลายท้องที่ จึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้เสียหายดูตัวได้ที่ สน.บางเขน หรือ โทร.0-2521-0514
พ.ต.อ.เจริญเปิดเผยว่า ก่อนเกิดเหตุ นายไพโรจน์ ดีรักษา ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เดินทางมาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.บางเขน ว่ามีคนนำเครื่อง SKIMMER และกล้องวงจรปิดขนาดเล็ก มาติดตั้งไว้ที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย หน้าศูนย์รถยนต์ฮอนด้าคาร์ สาขาบางเขน ซ.พหลโยธิน 67 ถ.พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา จึงคาดว่าน่าจะมีคนร้ายทำการลักลอบคัดลอกข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้มา ใช้บริการตู้เอทีเอ็มดังกล่าว แล้วปลอมแปลงบัตรเอทีเอ็มใบใหม่ขึ้นมาโดยคัดลอกรหัสบัตรจากผู้มาใช้บริการ ตู้แห่งนี้เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ
ต่อมาจากการสืบสวนทราบว่าภาพผู้ต้องหาได้ปรากฏอยู่ในข้อมูล ซึ่งได้ไปกดเงินตามตู้เอทีเอ็มต่างๆ จึงนำเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจับกุมได้ที่บริเวณห้องดังกล่าวพร้อมของกลางทั้งหมด ทั้งนี้ จากการสอบสวนทราบว่ามีผู้ร่วมขบวนการอีกหลายคน ได้แก่ นายราชพุท โมฮัมหมัด ซาลีม สัญชาติปากีสถาน นายโฮโดโรเจีย ไมไฮล์ และนาย ไอคอป ราดู ดาเนียล สัญชาติโรมาเนียทั้งคู่
จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การว่า ตนมีอาชีพซื้อของภายในประเทศไทยแล้วส่งขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งอยู่เมืองไทยได้ประมาณ 1 เดือนกว่าแล้ว และต่อมาได้ถูกชักชวนให้ร่วมขบวนการจากนายโฮโดโรเจีย ไมไฮล์ และนายไอคอป ราดู ดาเนียล ซึ่งขณะนี้ทราบว่าได้หนีออกนอกประเทศไปแล้ว โดยตนจะมีหน้าที่ตรวจสอบบัตรและกดเงินตามตู้เอทีเอ็ม และจะได้ยอดประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของยอดที่กดได้ทั้งหมด แต่ยังทำงานยังไม่สำเร็จ ก็มาถูกจับกุมตัวได้เสียก่อน
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหา “ทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้หรือให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” พร้อมนำตัวส่งดำเนินเคดีตามกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่จะขยายผลหาผู้ร่วมขบวนการและตรวจสอบบัตรเอทีเอ็ม เพราะน่าจะมีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อในลักษณะนี้มาแล้วหลายครั้ง หลายท้องที่ จึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้เสียหายดูตัวได้ที่ สน.บางเขน หรือ โทร.0-2521-0514
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)